การสร้างระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิและความชื้นด้วย NodeMCU ESP8266 และเซนเซอร์ DHT22 แจ้งเตือนผ่าน Telegram

การสร้างระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิและความชื้นโดยใช้บอร์ด NodeMCU ESP8266 และเซนเซอร์ DHT22 พร้อมส่งการแจ้งเตือนไปยัง Telegram Bot เมื่อค่าที่อ่านได้เกินขีดจำกัดที่กำหนด ระบบนี้เหมาะสำหรับการตรวจสอบสภาพแวดล้อม เช่น ห้องเซิร์ฟเวอร์ โรงเรือนเพาะปลูก หรือพื้นที่ที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น

เนื่องจากหลังจากวันที่ 31 มีนาคม 2568 ระบบ LINE Notify จะถูกปิดการให้บริการอย่างถาวร ทำให้มีผลกระทบต่อระบบที่ใช้บริการนี้อยู่ การเปลี่ยนมาใช้ Telegram เป็นทางเลือกที่สามารถรองรับการแจ้งเตือนได้ต่อไป

บทความเดิมที่แนะนำเรื่องการเชื่อมต่อและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ในที่นี้จะอธิบายต่อในส่วนของการใช้งาน Telegram Bot การสร้างและการนำคีย์มาใช้งาน https://moremeng.in.th/2023/02/nodemcu-esp8266-dht22-dht-11-temperature-humidity-detect-and-notify-line.html

แจ้งเตือนผ่าน Telegram

การแจ้งเตือนจะใช้ได้ 2 แบบ แบบส่วนตัว และ แบบแจ้งในกลุ่ม

  • การแจ้งแบบส่วนตัว จะใช้ id ของผู้ใช้งาน telegram ซึ่งต้องเป็นเพื่อนกับ Bot
  • การแจ้งแบบกลุ่ม จะใช้ id ของกลุ่ม ไม่ต้องเป็นเพื่อนกับ bot

การสร้าง Telegram Bot และการดึงเข้ากลุ่ม

1. สร้าง Telegram Bot

  1. เปิด Telegram และค้นหา @BotFather
  2. พิมพ์คำสั่ง /newbot
  3. กรอก ชื่อบอท (เช่น 🔥เทอโม้)
  4. กรอก username ของบอท (ต้องลงท้ายด้วย bot เช่น TermoBot)
  5. BotFather จะส่ง API Token มาให้ นำไปใช้ในการพัฒนา (ในกรอบสีแดง)

2. ดึง Bot เข้ากลุ่ม (เพื่อให้ Bot แจ้งเตือนในกลุ่มได้ หากไม่ต้องการใช้ให้ข้ามไป ข้อ 5)

  1. ไปที่กลุ่มที่ต้องการเพิ่มบอท
  2. กดที่ชื่อกลุ่ม > Manage Group > Administrators
  3. กด Add Administrator และเลือกบอทที่สร้างไว้
  4. ตั้งค่าบอทให้มีสิทธิ์ที่จำเป็น (เช่น Post Messages, Delete Messages ฯลฯ)

3. หา Chat ID ของกลุ่ม

  1. ใช้บอทที่สร้างขึ้นในข้อ 1 แล้วพิมพ์ /start เพื่อดูข้อมูลกลุ่ม
  2. หรือใช้ API ของ Telegram:
    • ส่งข้อความไปที่กลุ่มที่มีบอทอยู่
    • ใช้ API ดึงอัปเดต: https://api.telegram.org/bot<TOKEN>/getUpdates
    • ดูค่า "chat":{"id":-xxxxxxxxx} (เลขติดลบคือ Chat ID ของกลุ่ม)
"chat": {
      "id": -470xxxx140,
      "title": "ICT-ONLINE",
      "type": "group",
      "all_members_are_administrators": true
    },

4. ทดสอบส่งข้อความไปยังกลุ่ม

ใช้ API ของ Telegram:

https://api.telegram.org/bot<TOKEN>/sendMessage?chat_id=-XXXXXXXXX&text=Hello, Group!

(แทนที่ <TOKEN> และ -XXXXXXXXX ด้วยค่าที่ได้มา)

5. หา ID ของผู้ใช้งาน

  1. ค้นหา @userinfobot ในช่องค้นหา
  2. กดเริ่มต้น (Start)
  3. บอทจะแสดงข้อมูลของคุณทันที

ลองนำ id ไปทดสอบส่งข้อความหาผู้ใช้งานได้

https://api.telegram.org/bot<TOKEN>/sendMessage?chat_id=-XXXXXXXXX&text=Hello!

แจ้งเตือนผ่าน Telegram

ชุดคำสั่งนี้ทำงานเหมือนเดิม ต่างกันตรงที่แจ้งเตือนผ่าน telegram แทน line notify โดยใช้งาน library UniversalTelegramBot.h และ ArduinoJson.h ในส่วนของวิธีการ compile ใส่ใน module นั้นก็สามารถอ่านได้จากบทความข้างต้นได้ โดยในคำสั่งนี้จะมีการแจ้งสถานะการ Online ของอุปกรณ์ไปยัง telegram ด้วย เพื่อให้ทราบว่าสามารถเชื่อมต่อ internet ได้แล้ว

#include <ESP8266WiFi.h>
#include <WiFiClientSecure.h>
#include <UniversalTelegramBot.h>
#include <ArduinoJson.h>
#include "DHT.h"

// NodeMCU Name
#define NODE "NodeMCU_3"

// Replace with your network details
const char *ssid = "WIFI_NAME";
const char *password = "WIFI_PASSWORD";

// Telegram BOT Token (Get from Botfather)
const char *TELEGRAM_BOT_TOKEN = "TELEGRAM_BOT_TOKEN";
const char *CHAT_ID = "CHAT_ID";  // Chat ID

// Uncomment one of the lines below for whatever DHT sensor type you're using!
// #define DHTTYPE DHT11   // DHT 11
// #define DHTTYPE DHT21   // DHT 21 (AM2301)
#define DHTTYPE DHT22  // DHT 22  (AM2302), AM2321

#define DHTPIN D1  // Digital pin connected to the DHT sensor
// Feather HUZZAH ESP8266 note: use pins 3, 4, 5, 12, 13 or 14 --
// Pin 15 can work but DHT must be disconnected during program upload.
// Initialize DHT sensor.
DHT dht(DHTPIN, DHTTYPE);

// Temporary variables
static char celsiusTemp[7];
static char fahrenheitTemp[7];
static char humidityTemp[7];

X509List cert(TELEGRAM_CERTIFICATE_ROOT);
WiFiClientSecure secured_client;
UniversalTelegramBot bot(TELEGRAM_BOT_TOKEN, secured_client);

// only runs once on boot
void setup() {
  delay(1000);
  Serial.begin(9600);
  WiFi.mode(WIFI_OFF);  // Prevents reconnection issue (taking too long to connect)
  delay(1000);
  WiFi.mode(WIFI_STA);  // This line hides the viewing of ESP as wifi hotspot

  WiFi.begin(ssid, password);  // Connect to your WiFi router
  Serial.println("");

  Serial.print("Connecting");
  // Wait for connection
  while (WiFi.status() != WL_CONNECTED) {
    delay(500);
    Serial.print(".");
  }

  // If connection successful show IP address in serial monitor
  Serial.println("");
  Serial.print("Connected to ");
  Serial.println(ssid);
  Serial.print("IP address: ");
  Serial.println(WiFi.localIP());  // IP address assigned to your ESP

  secured_client.setTrustAnchors(&cert); // Add root certificate for api.telegram.org

  Serial.print("Retrieving time: ");
  configTime(0, 0, "pool.ntp.org"); // get UTC time via NTP
  time_t now = time(nullptr);
  while (now < 24 * 3600) {
    Serial.print(".");
    delay(100);
    now = time(nullptr);
  }
  Serial.println(now);

  bot.sendMessage(CHAT_ID, String(NODE) + " : Online 🟢", "");

  dht.begin();
}

void loop() {
  // runs over and over again
  /**
   * @brief Main loop function that continuously monitors and reports temperature and humidity.
   *
   * This function performs the following tasks:
   * 1. Waits for a WiFi connection.
   * 2. Reads temperature and humidity from the DHT sensor.
   * 3. Checks if the sensor readings are valid.
   * 4. Computes the heat index in both Celsius and Fahrenheit.
   * 5. Prints the humidity, temperature, and heat index values to the Serial monitor.
   * 6. Sends a Telegram message if the heat index exceeds 45°C.
   * 7. Delays for 20 seconds before repeating the process.
   */
  // wait for WiFi connection
  if ((WiFi.status() == WL_CONNECTED)) {
    // Reading temperature or humidity takes about 250 milliseconds!
    // Sensor readings may also be up to 2 seconds 'old' (its a very slow sensor)
    float h = dht.readHumidity();
    // Read temperature as Celsius (the default)
    float t = dht.readTemperature();
    // Read temperature as Fahrenheit (isFahrenheit = true)
    float f = dht.readTemperature(true);

    // Check if any reads failed and exit early (to try again).
    if (isnan(h) || isnan(t) || isnan(f)) {
      Serial.println(F("Failed to read from DHT sensor!"));
      return;
    }

    // Compute heat index in Fahrenheit (the default)
    float hif = dht.computeHeatIndex(f, h);
    // Compute heat index in Celsius (isFahreheit = false)
    float hic = dht.computeHeatIndex(t, h, false);

    Serial.print(F("Humidity: "));
    Serial.print(h);
    Serial.print(F("%  Temperature: "));
    Serial.print(t);
    Serial.print(F("°C "));
    Serial.print(f);
    Serial.print(F("°F  Heat index: "));
    Serial.print(hic);
    Serial.print(F("°C "));
    Serial.print(hif);
    Serial.println(F("°F"));


    if (hic > 45.00) {
      if (sendTelegramMessage("😐 ดูเหมือนห้องจะร้อนนะครับ\n" + String(NODE) + " : Heat index " + String(hic) + "°C " + "\n🌡 " + String(t) + "°C 💧" + String(h) + "%")) {
        Serial.println("Send Message successful");
      } else {
        Serial.println("Error sending message");
      }
    }
  }

  delay(20000);
}

bool sendTelegramMessage(String message) {
  bool result = bot.sendMessage(CHAT_ID, message, "");
  if (!result) {
    Serial.println("Failed to send message to Telegram");
  }
  return result;
}

สรุป

การใช้ Telegram แทน LINE Notify มีประโยชน์มากในแง่ของการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และเหมาะสำหรับการแจ้งเตือนจากอุปกรณ์ IoT เช่น NodeMCU ESP8266 โดยสามารถตั้งค่าให้ส่งข้อความเตือนในกรณีต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบริการที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่ง Telegram ยังรองรับการส่งข้อมูลจำนวนมากและการทำงานอัตโนมัติผ่านบอทที่สามารถจัดการกับข้อมูลที่ส่งจากอุปกรณ์ IoT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานในระบบที่ต้องการความคุ้มค่าและการแจ้งเตือนทันทีจากอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต.