เล่ารายละเอียดทั้งหมด กว่าจะมาเป็น logo หนึ่งชิ้นนั้น ผ่านกระบวนการอะไรบ้าง เริ่มเรื่องจากการที่ ที่ทำงานมีโจทย์มาให้ ว่าต้องการประกวดออกแบบ logo ของโรงพยาบาลขึ้น ซึ่งเดิมนั้นไม่มี และไม่เคยมีการใช้งานอย่างจริงจัง ตราสัญลักษณ์ที่เคยออกแบบมาก็ไม่ใช่ตราของโรงพยาบาลเสียทีเดียว แต่จะมีหน่วยอื่น หรือ ชื่อกิจกรรมพิเศษติดมาด้วย เพื่อนำไปใช้งาน แล้วก็ยกเลิกไป
โจทย์ที่ได้มาจากผู้อำนวยการคือ “ต้องการตราสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของอ่างทอง หรือ เอกลักษณ์ของอ่างทอง ค่านิยม รพ. แสดงถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงพัฒนา ของ รพ.” — เมื่อ 8 พย. 59
Jump to Contents
1. ทบทวนความรู้
เริ่มทบทวนความรู้และกระบวนการก่อนอันดับแรก เพื่อวางแผนว่าต้องทำอะไรบ้าง อย่างไร ด้วยวิธีใด ซึ่งผมก็หาข้อมูลจาก search engine ด้วย keyword “how to logo design” เจอข้อมูลมากมาย อาทิเช่น
จากนั้นก็ทำการบ้านต่อ
2. หาข้อมูล จากแหล่งต่างๆ ทั้ง Offline, Online
ข้อมูลที่หาเริ่มแรกจะสอบถามจากผู้คนที่พบเจอ เจอใครที่สนิท ๆ ผมก็จะถามว่า “อัตลักษณ์ของอ่างทองคืออะไร?” คำตอบที่ได้ จะไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ เพราะคำว่า “อัตลักษณ์” มันเป็น “ลักษณะเฉพาะตัว เป็นสิ่งที่บ่งชี้อย่างชัดเจน” แต่สัญลักษณ์ คือสิ่งที่ “ลักษณะเด่น” ผมเลยเปลี่ยนคำถามว่า “สัญลักษณ์ของอ่างทองคืออะไร?” คนก็จะตอบว่า
“สถานที่” – วัดม่วง วัดไชโย วัดขุนอินทประมูล วัดป่าโมก วัดไชโย ตลาดศาลเจ้าโรงทอง
“ของฝาก” – ตุ๊กตาชาววัง กลอง ไข่เป็ด เครื่องจักรสาน
“อื่นๆ” – ข้าว รวงข้าว แม่น้ำ อ่าง
ซึ่งส่วนหนึ่งของการพูดคุย ผมก็ยกตัวอย่างจังหวัดอื่น ๆ เช่น เพชรบูรณ์ เราจะนึกถึง มะขาม สุรินทร์ เราจะนึกถึง ช้าง สิงห์บุรี เราจะนึกถึง ปลา เชียงใหม่ เราจะนึกถึง พระธาตุ ตุง ล้านนา เป็นต้น แล้ว อ่างทองละ นึกถึงอะไร?
เอาหัวข้อจาก designil มาใช้
- อยากให้โลโก้ “สื่ออารมณ์” แบบไหน
- อยากให้โลโก้มี “ความหมาย” อย่างไร
- โลโก้ของเราจะมีอายุยืนยาวขนาดไหน
- โลโก้ของเรามี “ลักษณะเฉพาะ” มั้ย? โลโก้จดจำง่ายมั้ย?
- โลโก้ยังดูออกมั้ยตอนเป็นสีขาว – ดำ
- โลโก้ถ้าใช้แบบย่อเล็ก ๆ จะดูออกมั้ย
พิมพ์ใส่กระดาษ แล้วนั่งตอบทีละข้อ ๆ เพื่อหาแนวทางการออกแบบโลโก้
ต่อมาก็ถามใน social media
3. วิเคราะห์ ข้อมูลที่ได้มา
ได้รับคำตอบมามากมายหลากหลายแนวคิด เลยสรุปเอามาเป็นกลุ่มที่สะดวกต่อการใช้งานได้ 4 กลุ่ม “อ่าง วัด สถานที่อื่น ความรู้สึก” จากนั้นวิเคราะห์ต่อว่า อะไรคืออัตลักษณ์ หรือ ปัจจัยใดที่ทำให้เรารู้สึกนึกคิด ถึงสิ่งๆ นั้น หรือ ความหมาย ของสิ่งที่เรานึกถึงคืออะไร ทำไมคนนึกถึงวัด? ทำไมคนคิดถึงบ้าน? ทำไมคนคิดถึงทุ่งนา?
คำตอบที่มีอยู่ในใจแล้วขณะนี้คือ “ความเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ความชุ่มชื้น ความสุข ความเบิกบานใจ ความสงบ” เมื่อเปลี่ยนจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มาเป็น ความรู้สึกนึกคิด หรือ สิ่งที่เริ่มเป็น “นามธรรม” ก็หาข้อมูลเรื่องสี และ อารมณ์ เพื่อดูว่า สีใดจะเหมาะกับการออกแบบ logo
4. ร่างแบบ
ขั้นตอนนี้เริ่มจากการร่างลงในกระดาษก่อน เอาข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์ เสร็จแล้ว ร่างแบบในหัว และเขียนใส่กระดาษ ซึ่งครั้งนี้ไม่ได้ออกแบบแค่ logo อันเดียว เลยมีหลากหลายความคิดเข้ามาปะปนกัน รวมถึงการนำเลข ๙ เข้ามาใส่ด้วย ซึ่งมีแว๊บนึงที่คิดว่า “การมุ่งไปข้างหน้า” มันจะต้องเริ่มจากการออกตัว พอนึกถึงการออกตัว ก็เริ่มนึกถึงนักวิ่ง ไปค้นหาท่าวิ่ง เพื่อเอามาเป็นแนวคิดออกแบบด้วย
แล้วก็ได้มาแบบนี้
ซึ่งเลข ๘ แบบแรกนี้พอคิดได้แล้วก็ต้องทำขึ้นมาก่อน ไม่งั้นจะลืม concept ไป จากนั้นก็มาต่อเติมสิ่งที่คิดไว้แล้ว ก็คือ “รวงข้าว” เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง รวมไปถึงตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดก็ยังมีรวงข้าวอยู่ จึงหาแบบของรวงข้าว หาสีของรวงข้าว หาโทนที่จะเหมาะกับ logo ที่ออกแบบ
5. เตรียมสี
วิธีการคือหารูปถ่าย เพื่อเปรียบเทียบสี และใช้เว็บอาทิเช่น www.colourlovers.com, coolors.co, paletton.com, colorpalettes.net
ซึ่งโทนสีที่ใช้ จะให้ใกล้เคียงกับ “สีเหลืองอำพัน” แต่จะอ่อนลงหน่อย เหมือนสีแสงส่องด้านหลัง เพื่อใช้เป็นสีของเมล็ดข้าว
6. ลงรายละเอียด
ขั้นตอนนี้ใช้ร่างที่ทำไว้ มา draff หรือ วาดใหม่ก็ได้ ตามต้นแบบที่คิดไว้ โดยทำรายละเอียดต่างๆ ไปทีละส่วน เพื่อนำมาประกอบกัน ในที่นี้จะเริ่มต้นจากเมล็ดข้าวก่อน เพื่อเพื่อเอามาสร้างเป็น brush เพื่อให้ง่ายตอนสร้าง “ฝักรวงข้าว”
หาแบบกังหัน เพื่อแสดงถึงการพัฒนา
เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว การหมุนของกังหัน ทำให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างกัน ระหว่าง หมุนตามเข็ม และ ทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งถ้าดูจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ก็มีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า การเวียนรอบโบสถ์ ทวนเข็ม กับ ตามเข็ม มันแตกต่างกัน
จนได้แบบกังหันมาดังนี้
จากนั้นก็ใส่สีให้กับกังหันลม แต่ก็ยังใช้เวลาปรับอยู่พอสมควร และหัวหน้าได้มาเห็น logo ที่กำลังออกแบบ จึงได้อธิบายรายละเอียดคร่าวๆ พอสังเขป ท่านได้ให้แง่คิดว่า กระทรวงสาธารณสุข ก็ควรมี “งูพันคบเพลิง” ซิ จึงได้หาแบบ พร้อมทั้งความหมาย ว่าแท้จริงแล้ว ทำไมกระทรวงสาธารณสุขจึงต้องมีตราเป็นงูพันคบเพลิง จึงได้คำตอบ
และตรางูพันคบเพลิง
แต่ได้ตัดทอนออกบางส่วน ตรงปีก และ ไฟ เนื่องจากดูแล้วไม่เหมาะกับ logo ที่กำลังออกแบบ ที่ต้องการความเรียบง่าย กว่านี้จึง เปลี่ยนเป็นการใช้เส้น และ ขนาด
7. ลองเลือก font ที่เหมาะ
เรื่องที่สำคัญไม่แพ้การออกแบบตรา ก็คือ ตัวอักษร โดยเฉพาะการที่เราไม่ได้ออกแบบเป็น Letter form (ประเภทของโลโก้) จึงต้องพิจารณาให้ดี เพราะถ้าเลือกแบบอักษรที่ไม่เหมาะสมกับ Logo จะทำให้ดูขัดแย้งกัน และความหมายที่ต้องการสื่อกับ Logo อาจเปลี่ยนไป
8. การบันทึกไฟล์เพื่อส่งแบบ
ส่วนมากก่อนจะสร้าง Logo ขึ้นมาจะเลือกโหมดสีเป็น CMYK อยู่แล้ว เพราะทำงานที่ต้องส่งออกเพื่อไปพิมพ์อยู่เป็นประจำ ทำให้เข้าใจถึงอาการสีเพี้ยนได้ดี มันเป็นความผิดพลาดที่อาจจะมองว่าเล็กน้อย แต่สีเพี้ยน บางครั้งก็ให้อภัยไม่ได้เหมือนกัน จากสีเขียวน้ำทะเล พอพิมพ์ออกมาเป็น สีฟ้านวลๆ มันก็ผิดแล้ว
โดยปกติเวลาส่งงานออกไปพิมพ์จะใช้เป็นไฟล์ .jpg แต่ครั้งนี้ส่งแบบหลายชิ้น จึงเลือกเป็น PDF ส่งไปแทน เพราะมั่นใจว่าเครื่องที่พิมพ์นั้นสีตรงกับแบบในเครื่องอย่างน้อยก็ 95%
สรุปการส่งประกวดครั้งนี้
ได้ส่งไปทั้งหมด 5 แบบด้วยกัน ซึ่งมีแบบที่ 5 คือ Logo ที่ออกแบบไว้โดยลอกเลียนแบบตราสัญลักษณ์ของกระทรวงสาธารณสุขมา เพียงเปลี่ยนชื่อเท่านั้น แต่เวลาส่งใส่ซองนั้น จะเรียงจาก 5 4 3 1 2 เอา ตราที่เราเกร็งไว้ว่า เป็นทีเด็ด ไว้สุดท้าย
ซึ่งผลก็ปรากฏว่าได้รับรางวัลชนะเลิศในการออกแบบครั้งนี้
โดยวันที่มารับรางวัลกับในประกาศนียบัตรนั้น ต้องอธิบายแนวคิดในการออกแบบ และความหมายของ Logo นี้ ซึ่งก็เตรียม slide ก่อนการนำเสนอ 2 ชั่วโมง ปั่นหูตูบเลย ตั้งแต่ 10.00 ถึง 12.30 ลงไปทานข้าวแว๊บเดียว ก็มารอที่ห้องประชุมเพื่อนำเสนอ โดย slide นี้จะอธิบายความหมายในการออกแบบไว้ดังนี้
ซึ่งไม่ใช่ออกแบบได้สวย หรือ โดดเด่นแต่อย่างใด ตราสัญลักษณ์นั้นใครก็ออกแบบได้ เพราะเชื่อว่าต้องมีคนที่ออกแบบเก่งส่งมาอย่างแน่นอน เนื่องจากมียอดส่งประกวด 25 แบบ แต่ที่ชนะ อาจเป็นเพราะว่า การสื่อความหมายของตรา มันสามารถสื่อความหมายถึง คณะกรรมการ ถึงผู้บริหารที่ให้โจทย์มา และถ้าไม่ได้เพื่อนร่วมงาน มิตรสหายทั้ง Online Offline ก็คงไม่สามารถสร้างงานชิ้นนี้ออกมาได้ และต้องขอบคุณครอบครัวที่ให้เวลาได้ปั่นงานชิ้นนี้จนเสร็จ ไม่ว่าจะดึกดื่นแค่ไหนก็ตาม เงินรางวัลที่ได้ไม่ได้มากเท่าความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างตราสัญลักษณ์ขององค์กรครั้งนี้เลย