วันนี้นั่งฟังนักวิชาการท่านหนึ่งพูดเรื่องที่เขารู้ลึกรู้จริง พูดแล้วฟังว่าเขามองกว้าง มองหลายมุม มองแบบคนที่รู้รอบครอบคลุม แล้วก็ย้อนกลับมาดูตัวเอง ว่าองค์ความรู้ที่เรามี มันมีมากแค่ไหน มันเพียงพอกับการดำรงชีวิตหรือไม่ พอคิดๆ ไปก็แว๊บเรื่อง “กบในกะลา” เข้ามาในหัว เป็นสำนวนที่หมายถึง “ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยแต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก” ซึ่งความหมายที่ผมตีความได้ มันทำนองว่า การที่เราใช้ชีวิตอยู่ในกะลา ก็เหมือนโลกในกรอบของเรา เป็นโลกที่เราเห็นอยู่นี่แหละ แล้วเราก็คิดเห็นในสิ่งที่เราทำเป็นประจำ ทำจนเคยชิน โดยไม่รู้เลยว่า นอกกะลามันมีอะไร บ้างบางคนก็บอกว่า เอ็งนี่มันกบในกะลาจริงๆ แต่หารู้ไม่ว่า คนที่บอกว่าคนอื่นเป็นกบในกะลานั้น ก็ยังไปไม่พ้น “กาบมะพร้าว” อยู่ดี
เพราะความคิดที่วนไปวนมาอยู่ในกรอบเดิมๆ ตรรกกะเดิมๆ พยายามล้วงลึกลงไปในกะลา ค้นหาว่ามันมีกบจริงๆมั้ย แทนที่จะขวนขวายหาองค์ความรู้ใหม่ หาแนวคิดใหม่ หาวิธีที่ทำให้ตัวเองหลุดพ้นไปจากกาบมะพร้าว ที่แสนจะวุ่นวาย และซับซ้อนนี้
ผมขอบัญญัติสำนวนขึ้นมาใหม่ว่า “กบในมะพร้าว” ก็แล้วกัน เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่คุณจะปลอกมะพร้าวด้วยมือปล่าว! แม้คุณจะมีฟันที่แข็งแรง แต่ แขนขาคุณพร้อมหรือป่าวที่จะกัดฉีกเปลือกมะพร้าวออกมา ซึ่งโดยปกติแล้ว ลูกมะพร้าวอ่อนจะปลอกง่ายกว่าลูกมะพร้าวแก่
ยิ่งคุณจมปลักกับอะไรนานๆ อยู่จนเคยคิด คิดแบบเดิมๆ จนเคยชิน พอแก่ตัวไป คุณก็ไม่อาจเปลี่ยนความคิดของคุณไปได้ ซึ่งมันยากมากๆ ด้วยเหตุนี้เองระบบร่างกายเราถึงได้มอบโรคขี้หลงขี้ลืมมาให้เราในวัยชราอย่างไงละ
วันนี้ก็เอาแค่พอหอมปากหอมคอ ไม่อยากบรรยายอะไรให้มากความ เอาเป็นว่า เราไปหาทางออกจาก “มะพร้าว” ของเรากันเถอะ
image source: http://king-animal.blogspot.com/2012/11/edible-frog.html