เสียดาย ควายได้แต่อ่าน

ก่อนอื่นผมจะเกริ่นก่อนว่าผมได้อ่านบทความของคุณ วิกรม กรมดิษฐ์ เกี่ยวกับจุดอ่อนของคนไทย 10 ประการ?เมื่อได้อ่านแล้วก็ได้คิดว่า ข้อความมันชั่งกระชับได้ใจความเสียจริง ผมเลยอยากเอาความคิดเห็นส่วนตัวมาถอดและอภิปรายเป็นข้อๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้ครับ

ต้องบอกว่าประเทศไทยเปิดศักราชปีเสือไม่โสภา เมื่อ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) ระบุว่าไทยอาจไม่เป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุนเหมือนที่ผ่านมาในสายตาของ นักลงทุนญี่ปุ่น ทำให้คิดถึงความคิดเห็นของ วิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าพ่ออมตะนครที่เคยพูดถึง “จุดอ่อน” ของคนไทยไว้ 10 ข้อคือ

1 . คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก โดยเฉพาะ หน้าที่ต่อสังคม เป็นประเภทมือใครยาวสาวได้สาวเอา เกิดเป็น ธุรกิจการเมือง ธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ประเทศชาติล้าหลังไปเรื่อย

กล่าวได้ว่าความรู้ผิดชอบชั่วดีของคนไทยต่ำมากครับ คนไทยส่วนมากยึดตนเองเป็นที่ตั้งโดยไม่สนใจสังคม สิ่งแวดล้อมว่าจะเดือนร้อนเสียดายอย่างไร หน้าที่ของพลเรือนที่ดีคือไม่ก่อความเดือนร้อนวุ่นวายต่อบ้านเมืองต่อสังคม แต่เห็นๆกันอยู่ว่าสังคมไทยทุกวันนี้วุ่นวายขนาดไหน ไม่ว่ารากหญ้าหรือว่าข้าราชการระดับสูงๆ ผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารบ้านเมืองก็เป็นไปกันหมด ธุรกิจการเมืองก็แก่งแย่งชิงดี แย่งเก้าอี้ ซื้อตำแหน่ง ข้าราชการก็ขาดคุณธรรม อยากมีอยากได้ซื้อขายตำแหน่งกันเป็นว่าเล่น เป็นระบบที่ฟอนแฟะ คนที่ก่อความเสียหายเดือดร้อนให้บ้านเมืองได้ตำแหน่งบริหารประเทศ ผู้ที่มีหน้าที่ตรวจสอบการทำงาน ก็กลับเล่นเกมส์ของตัวเอง การทุจริตคอรับชั่นก็เยอะแยะไปหมด ถนนผุพงตั้งแต่ยังไม่ส่งมอบงาน วัสดุไม่ตรงเกณฑ์ มีใต้โต๊ะ ไม่รู้ถูกรู้ผิด เข้าข้างญาติมิตรแบบหัวชนฝา สังคมเรามันเป็นระบบอุปถัมภ์มาแต่ไหนแต่ไร ยากที่จะแก้ได้แค่ใครคนใดคนหนึ่ง การศึกษาก็ด้อย เก่งกันแค่ไม่กี่คน เก่งแล้วก็ไม่สามารถทำอะไรได้ สุดท้ายก็เหลวไปกับกระแสหมด ปริญญาเดี๋ยวนี้แทบไม่มีค่า คนเมื่อก่อนร่ำเรียนมายากเย็น กว่าจะจบมาได้ คนเดี๋ยวนี้เสียเงินเสียทองซื้อมา เพื่อหวังกอบโกย โดยไม่คิดถึงคุณภาพของประเทศในภายภาคหน้า ผมดีใจนะที่ผมอีกไม่นานก็คงตายแล้ว ไม่อยากอยู่ดูความล้มเหลวของประเทศที่เรียกตัวเองว่า ประเทศราช ที่ไม่เคยเสียเอกราชให้ใครอย่างประเทศไทยนี้เลย

2. การศึกษายังไม่ทันสมัย คนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่างๆ ไม่กล้าแสดงออก ขี้อายไม่มั่นใจในตัวเอง เราจึงตามหลังชาติอื่น จะเห็นว่าคนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอกเพื่อโอกาสที่ดีกว่า

การศึกษาในเมืองไทยมันเหมือนควายตามน้ำ ใครเห็นที่ไหนดี ที่ไหนดังก็เฮโลกันไปเรียน ความเชื่อผิดๆยังมีอยู่มาก แบบฝังใจจำ ว่าที่ดีๆ เจ๋ง เก่ง แท้จริงแล้วก็เหมือนกัน ซึ่งหาได้ดูสถานศึกษาของต่างประเทศ เขาแข่งกันขนาดไหน เขาเอื้อต่อการศึกษาขนาดไหน เขามุ่งมั่นพัฒนาบุคคลากรเขาขนาดไหน ประเทศไทยเราเลยไม่ไปไหนซักที ไอ้ที่เก่งๆ ดีๆ ก็เป็นสิ่งที่ชาวบ้านเขาไม่ค่อยสนใจกัน เราไอ้แชมป์ฟิสิกส์ ชีวะ เคมี คณิต ระดับโอลิมปิกวิชาการมากี่คนแล้ว กี่คนเล่า แต่ทำไมระดับการศึกษาของเราถึงยังดู??? ล้าหลัง กว่าประเทศอื่น ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าคนที่เก่งๆ ในไทย เขาหายไปไหนกันหมด หรือเขาจะเบื่อหน่าย กับสังคมที่มันไม่เจริญไปกว่านี้ แบบเมืองไทย

3. มองอนาคตไม่เป็น คนไทยมากกว่า 70% ทำงานแบบไร้อนาคตทำแบบวันต่อวัน?แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ น้อยคนนักที่จะทำงานแบบเป็นระบบ?เป็นขั้นเป็นตอ มีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน

ผมเองเป็นหนึ่งในนี้ เพราะว่าเราไม่รู้จักการบริหารจัดการเวลา บริหารจัดการความคิดและสติในการทำงาน การเรียน เราจึงมองไม่เห็นว่า อนาคตเราจะทำอะไร ทำอย่างไร จะทำอย่างไรถึงจะไปถึงจุดที่เราเรียกว่าเป้าหมาย เราไม่ได้ฝึกกันมา ซึ่งการเรียนการสอนของเราก็เป็นแบบท่องจำ เรียนๆไปวันๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ อันที่จริงมันก็มีรูปแบบของการวางแผน การวางเป้าหมายในชีวิตนะ แต่เราขาดการแนะนำที่ถูกต้อง ขาดประสบการณ์ ผมจะยกตัวอย่าง การให้งานของอาจารย์ ในเทอมนึง จะมีงานชิ้นใหญ่อยู่วิชาละ 1-2 งาน เป็นงานที่สั่งตั้งแต่ต้นเทอม และส่งในปลายเทอม แต่…รู้กันอยู่ใช่มั้ยว่าเราจะไปเร่งทำกันตอนอาทิตย์สุดท้ายก่อนปิดภาคเรียน นั่นเพราะเราขาดการบริหารเวลา ขาดจิตสำนึกในความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ของตนเอง เราได้รับมอบหมายแล้ว แต่เราไม่ทำในทันที เราไม่วิเคราะห์ ไม่คำนวนเวลาให้ดี สุดท้ายงานที่ออกมาก็เป็นแบบไฟรนก้นกันไป

4. ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำแบบผักชีโรยหน้าหรือทำด้วยความเกรงใจ ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่จะให้ความสำคัญกับสัญญาหรือข้อตกลงอย่างเคร่ง ครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะยาว ปัจจุบันคนไทยถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือด้านนี้ลงเรื่อยๆ

กฏหมายก็คือกฏหมาย บ้านเราอย่างที่ผมบอกมันเป็นสังคมระบบอุปถัมภ์ กฏระเบียบบ้านเมืองก็เหมือนใบปริว ที่ใครจะเก็บหรือไม่เก็บก็ได้ มันมีอยู่เกลือนกราดแต่เราไม่สนใจ ไม่คิดจะรับรู้ บ้างก็ทำเฉยไม่สนใจ เราเห็นสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลในสังคมเยอะแยะไปหมด สิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง แต่เราก็นิ่งเฉย เราคิดว่าไม่เกี่ยวกับเรา หรือเราเองเกรงใจ หรือกลัวต่อผู้ที่กระทำผิด ทั้งๆ ที่เป็นหน้าที่ของเรา ผมยกตัวอย่างที่ดีให้เห็นชัดๆ ในกรณีที่ ข้าราชการ ซี 5 ที่เคยเป็นข่าวตบบ้องหู เจ้าหน้าที่ตรวจค้นของสนามบิน ตัวเจ้าหน้าที่เองนั่นทำถูกต้องแล้ว เพราะถือเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่อย่างเคร่งครัด แต่ข้าราชการคนนี้กลัวใช้ความกร่าง คิดว่าตนเองควรได้รับความสำคัญมาก ไม่ต้องตรวจก็ได้ ซึ่งมีให้เห็นเยอะครับสังคมไทย เพราะมันไม่ได้เป็นสังคมที่เท่าเทียมกันโดยเนื้อแท้ คนเราเมื่อสวมหน้ากากแล้ว มันก็คิดว่าเราเป็นตัวละคร เป็นคนโน่นคนนี้ ทำให้มันรู้สึกไปเองว่ามันเป็นยักษ์ทศกัณฑ์ เจ้าเมืองลงกา มีอิทธฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ คนดูก็เชื่ออย่างจริงจัง บูชากราบไหว้ โดยไม่ได้นึกถึงเนื้อในหลังหน้ากาก ว่าจริงๆแล้วก็เป็นเฉกเช่นมนุษย์ แค่สัตว์ร่วมโลกเช่นเดียวกับเรานี่เอง

5. การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่ ประชากรประมาณ 60-70% ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองและชุมชนซึ่งเป็น หน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริ

ที่ไหนเจริญก็ย่อมเป็นที่กระจุกตัวของการค้า การตลาด เทคโนโลยี การศึกษา ยอมรับว่าประชาชนในถิ่นที่การศึกษาไม่ถูกพัฒนา หรือที่ๆคนขาดคุณภาพชีวิต มักจะถูกหลอก ถูกชักจูงได้ง่าย เป็นเพราะเรารู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือแม้แต่สัคมเมืองก็เถอะ เหยื่อที่คิดว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่สมบูรณ์ด้วย หน้าที่การงาน ฐานะเงินทองและการศึกษา กลับถูกหลอก ถูกชักจูงได้ง่ายเช่นกัน อันเกิดมาจากความเจริญทางวัตถุ และสิ่งแวดล้อมทำให้ขาดโอกาศทางการศึกษาในเรื่องของการดำเนินชีวิต ขาดสติ เพ้อฝันกับลาภยศเงินทองโดยลืมคิดไปว่า ถ้าไม่มีเหยื่อ ก็ย่อมไม่มีผู้ล่า คนโง่ก็ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนฉลาดอยู่วันยังค่ำ

6. การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็ง และดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ปราบปรามไม่จริงจัง การดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจหรือบริวารจะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อน ไม่มีมาตรฐาน ต่างกับประเทศที่เจริญแล้ว ข้อนี้กระบวนการยุติธรรมจะต้องปรับปรุง

ชัดเจนไม่ต้องอธิบายอะไรมาก เพราะตัวอย่างก็มีให้เห็นกันเกลื่อน มันเป็นความเหลื่อมล้ำในสังคมชนชั้น คนจนผิดติดคุก คนมีตังส์จ้างทนายสู้คดีชนะถมเถไป เหมือนคำที่ใช้กันหนาหูว่า “สองมาตรฐาน” นี่ละครับสังคมระบบอุปถัมภ์ ส่วนตัวผมเองผมพูดได้เต็มปากว่า ให้ญาติโกโหติกาหรือแม้แต่บุพการี หากทำผิดก็ต้องผิด ว่ากันไปตามความจริง ไม่ต้องอิงข้างใคร เพราะคนที่เสีย ก็คือตัวเราเอง ที่ถูกลดความน่าเชื่อถือลง หากสังคมทำเหมือนเข้าใจ แต่คนที่รู้สึกไม่ผิดและรู้อยู่แก่ใจก็คือตัวเราเอง แต่อย่างไรก็ดี “จิตสำนึกคนเรามันไม่เหมือนกัน”

7. อิจฉาตาร้อน สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ เลี่ยงเป็นศรีธนญชัยยกย่องคนมีอำนาจ มีเงิน โดยไม่สนใจภูมิหลัง โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้วไปเกาะผู้มีอำนาจ เอาตัวรอด คนพวกนี้ร้ายยิ่งกว่า ผู้ก่อการร้ายดีแต่พูด มือไม่พายเอาเท้ารานํ้า ทำให้คนดีไม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว

คนรวยที่สนับสนุนพวกมีอำนาจ ใช้อุปถัมภ์ค้ำชู ทำธุรกิจผิดกฏหมายในสังคมไทยก็อยู่รอด เพราะมักใหญ่ใฝ่สูง อยากเป็นใหญ่เป็นโต เลียแข้งเลียขานายทุน สนับสนุนเงินเพื่อตำแหน่ง พอได้แล้วก็ตอบแทนด้วยการเอื้อประโยนช์ให้กับผู้มีพระคุณ ทำให้เห็นว่า “ศีลธรรมกับคุณธรรม” มันไปกันไม่ได้ ความกตัญญูรู้คุณกลับดูแปดเปื้อนมนทิน คนดีที่ไหนเขาก็ขยาดไม่กล้าสู้ เพราะกลัวอิทธิพล จากบรรดาลูกเจ้าขุนมูลนาย ใหญ่โตทั้งหลาย

8. เอ็นจีโอค้านลูกเดียว เอ็น จีโอ บางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์เอ็นจีโอดีๆ ก็มี แต่บ้านเรามีน้อย บ่อยครั้งที่ประเทศเราเสียโอกาสอย่างมหาศาลเพราะการค้านหัวชนฝา?เหตุผลจริงๆ ไม่ได้พูดกัน

คนไทยเราถ้าอะไรที่มันไม่เดือดร้อนตัวเอง มันจะไม่ร้องซักเอะ ?แต่พอเดือดร้อนขึ้นมา กลับไม่ช่วยตัวเอง มานั่งแหงนหน้าอ้าปากรอฟ้ารอฝน ที่จะตกให้ชื่นฉ่ำ พลังขององค์กรอิสระมีมาก หากทุกคนใช้เป็น แต่มันก็ต้องอยู่ได้ด้วยการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ทุกคนเข้าใจว่า ประชาธิปไตยคืออะไร ใช้อย่างไร ไม่ใช่รอคิดหาแต่ผู้นำ หรือผู้กล้าออกมาเผชิญชะตากรรม ซึ่งหากผู้นำคิดดี กลุ่มก็จะดี แต่ถ้าผู้นำคิดไม่ดี และคนตามคิดไม่ได้ ปลาก็จะเน่าทั้งอวน คนไทยไม่ค่อยพูดกันด้วยเหตุผลที่แท้จริง ส่วนมากเป็นเหตุผลหรือข้ออ้างส่วนตัวซะมากกว่า เหตุผลแท้จริงแล้วควรถกกันเพื่อข้อยุติ มองส่วนได้ส่วนเสีย ผลกระทบ โดยผ่านการวิเคราะห์จากหลายๆคน หลายๆฝ่ายหลายๆส่วน มีการทำประชาพิจารณ์ (นี่คือประชาธิปไตย) หากจะทำอะไรที่มันจะเปิดผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้อื่นอาจเกิดความเดือนร้อน เราต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย ไม่ใช่ทำอย่างไร ให้เราได้ทำในสิ่งที่ต้องการ โดยผู้อื่นมาทราบทีหลัง มันเหมือนกับวัวหายล้อมคอก ทำแล้วค่อยมาคิด พอเสียหายแล้วค่อยมาแก้ ถ้าไม่เจอปัญหา แสดงว่าประสบความสำเร็จ จริงแล้วไม่ใช่ มันควรจะคิดกันก่อนหน้านั้น นี่เป็นอีกหนึ่งของความรับผิดชอบ(ทางความคิด) ที่คนไทยไม่ค่อยมี

9. ยังไม่พร้อมในเวทีโลก การสร้างความน่าเชื่อถือในเวทีการค้าระดับโลกของเรายังขาดทักษะและทีม เวิร์ค ที่ดี ทำให้สู้ประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ไม่ได้

เราทำงานเพื่อตัวเอง บางคนก็อ้างส่วนรวม เพื่อทำงานของตัวเอง จริงแล้วเรานับถือศาสนาพุทธแท้ๆ แต่เรากลับไม่รู้จักคำว่า “ทาน” เราทำงานไม่ค่อยให้ใจผู้อื่น คนไทยทำงานเป็นทีมไม่เป็น เราขาดความร่วมมือ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราไม่เข้าใจภาระงาน เป้าหมายของงาน เราวางแผนระบบงานไม่เป็น การทำโครงการของไทย มันซับซ้อน และมีช่องโหว่มาก แม้จะทำให้มันซับซ้อนเพื่อจะปิดช่องโหว่ของการคอรับชั่นก็ตาม มันก็ยังมีผู้แสวงหากำไร หาข้อผิดพลาดและรูเล็กๆ น้อย เข้ามาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตนได้เป็นกอบเป็นกำ ทุกวันนี่เรากัดกินประเทศกันไปคนละนิดละหน่อย ไม่กี่ปีก็คงไม่เหลืออะไรให้ลูกหลานได้กินได้ใช้

10. เลี้ยงลูกไม่เป็น ปัจจุบัน เด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นขี้โรคทางจิตใจ ไม่เข้มแข็ง เพราะเราเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเอง ต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เขาจะกระตือรือร้นช่วยตนเองขวนขวายแสวงหา ค้นหาตัวเอง และเขาจะสอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม

ที่ผ่านมาหมดทุกข้อ สรุปให้ชัดเจนว่าเราปล่อยปะละเลยลูกหลานของเรามากน้อยแค่ไหน เราใส่ใจพวกเขาแค่ไหน บ้างก็เห็นเป็นแค่บ่อเงินบ่อทอง บ้าก็เป็นตัวสนองตัญหาราคะ บ้างก็เป็นเครื่องมือทำผิด บ้างก็เห็นเป็นตัวปัญหาไม่น่าเกิดมา แล้วย้อนดูตัวเองบ้างมั้ยละคนไทยเอ่ย ว่าคุณให้อะไรกับอนาคตของประเทศชาติบ้าง